ไร่สวนสุวรรณ์
สาระเกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยทางใบ
มันสำปะหลัง
ผลผลิตทางการเกษตร
อีเอ็มการใช้ปุ๋ยชีวภาพเบื้องต้น
วิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์
Board
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
Satellite image
Contact
รับจ้างเพาะเมล็ดพันธุ์
อีเอ็มการใช้ปุ๋ยชีวภาพเบื้องต้น

อีเอ็มการใช้ปุ๋ยชีวภาพเบื้องต้น

 

                EM (Effective Microorganism) คือจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพโดยการรวมเอาจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพจากธรรมชาติ ประกอบด้วยจุลินทรีย์ทั้งหมด 5 แฟมิลี่ 10 จีนัส 80 สปิชี่ โดย ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิงะ ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวนจากมหาวิทยาลัยริวกิวประเทศญี่ปุ่น สามารถค้นพบการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ที่ชอบอากาศ (Aerobic bacteria) และจุลินทรีย์กลุ่มที่ไม่ชอบอากาศ (Amaerobic bacteria) โดยได้เลือกจุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตเจนในอากาศได้ (Azoto bacter) และจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosythertic bacteria) จุลินทรีย์ 2 กลุ่มนี้สามารถอยู่รวมกันได้เพราะต่างก็อาศัยด้วยการแลกอาหารซึ่งกันและกัน

                พื้นฐานการใช้จุลินทรีย์อีเอ็มแบบน้ำ

                1. การขยายอีเอ็มเพื่อใช้ทันที เตรียมขยายอีเอ็มในอัตราส่วนอีเอ็ม/กากน้ำตาล/น้ำสะอาด (1/1/1,000)

                                วัสดุ

                                อีเอ็ม 1 ซีซี หรือ 1 ช้อนโต๊ะ

                                กากน้ำตาล 1 ซีซี หรือ 1 ช้อนโต๊ะ

                                น้ำสะอาด 1 ลิตร หรือ 10 ลิตร

                2. การขยายเพื่อใช้กับการปลูกพืช

                                2.1 เตรียมภาชนะที่สะอาด เช่น ปิ๊บขนาด 20 ลิตร บรรจุน้ำสะอาดเต็มปิ๊บ เติมอีเอ็ม 2 ช้อนโต๊ะ กากน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ (อีเอ็ม/กากน้ำตาล/น้ำสะอาด 1/1/1,000) ผสมส่วนให้เข้ากันแล้วสามารถใช้ได้ทันที เช่น ใช้ในการทำโบกาฉิในปุ๋ยหมักในสูตรต่างๆ ทุกครั้งที่ใช้อีเอ็มจะต้องขยายก่อนดังนี้ทุกครั้งไปใช้ฉีดพ่นรดพืชผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ ฯลฯ เดือนละ 2 ครั้ง ขยายฉีดพ่นข้าวเดือนละ 1 ครั้ง สำหรับไม้ผลขยายอีเอ็มฉีดพ่นเดือนละ 1 ครั้ง งดการฉีดพ่นในระยะไม้ผลออกดอก การใช้อีเอ็มเพื่อใช้กับสัตว์เลี้ยงใช้อีเอ็มขยายให้กับสัตว์เลี้ยงกิน อีเอ็ม/น้ำสะอาดอัตราส่วน 1/5,000-10,000

                                2.2 เตรียมน้ำสะอาดใส่ภาชนะขนาด 5 ลิตร แล้วหยดอีเอ็มลงใส่ 1 ซีซี หรือขนาดภาชนะใส่น้ำสะอาดถัง 200 ลิตร เติมอีเอ็มลง 4-10 ช้อนโต๊ะ เอาน้ำที่มีอีเอ็มไปให้สัตว์เลี้ยงจะไม่ส่งกลิ่นเหม็น และมูลของสัตว์เลี้ยงที่กินอีเอ็มมีคุณสมบัติเหมือนโบกาฉินำไปใช้กับการปลูกพืชทุกชนิดเป็นพืชผักที่มีคุณภาพเจริญเติบโตได้เร็วดีเป็นพิเศษ แตกต่างจากมูลสัตว์ธรรมดาโดยทั่วๆ ไป การใช้อีเอ็มแก่สัตว์เลี้ยงกินห้ามผสมกากน้ำตาล เพราะถ้าเป็นสัตว์เลี้ยงกินไม่หมด เมื่อเกินระยะเวลา 3 วัน จะเป็นผลเสียแก่สัตว์เลี้ยงได้

                                2.3 ขยายอีเอ็มเพื่อฉีดพ่นหรือล้างคอก เพื่อขจัดกลิ่นเน่าเหม็นให้หมดไป เช่น คอกสุกร ขยายอีเอ็มในอัตราส่วน อีเอ็ม/กากน้ำตาล/น้ำสะอาด (1/1/1,000) น้ำอีเอ็มที่ขยายฉีดพ่นอย่าใช้ให้หมดเหลือไว้ประมาณ 1/4 ของภาชนะ เติมน้ำลงไปอีกจนเต็มภาชนะอันเดิมแล้วเติมกากน้ำตาลลงอีกเท่ากับที่ใส่ลงครั้งแรกการขยายของอีเอ็มจะเกิดขึ้นอีกครั้งหมักต่อไว้อีก 1-3 วัน นำน้ำไปฉีดพ่นล้างออก เพื่อดับกลิ่นให้หายไปได้อย่างประหยัดภาชนะที่ใช้หมักต้องสะอาด น้ำที่ใช้ต้องสะอาด มีฝาปิด เช่น การหมักขยายใส่ภาชนะขนาด 200 ลิตร เติมอีเอ็ม 20 ช้อนโต๊ะ ควรหมักขยายต่อเชื้ออย่างต่อเนื่องไม่เกิน 4 ครั้ง แล้วจึงใช้ให้หมด ล้างภาชนะให้สะอาดจึงเริ่มต้นขยายใหม่

 

การทำฮอร์โมนธรรมชาติจากยอดพืช

            วัสดุ

                1. ยอดพืช 4 กก. ยอดยูคาลิปตัส 1 กก. ยอดสะเดา 1 กก.

                2. ถังพลาสติกขนาด 20 ลิตร

                3. จุลินทรีย์อีเอ็ม 200 ซีซี (1 แก้ว)

                4. กากน้ำตาล 200 ซีซี (1 แก้ว)

                5. น้ำสะอาดประมาณ 15 ลิตร

                วิธีทำ

                1. เก็บยอดพืชตอนเช้าตรู่ 6 กก. เช่น ฮอร์โมนใช้ในการปลูกพืชผักสวนครัว ใช้ยอดผักบุ้ง ยอดพืชตระกูลถั่ว ฯลฯ ฮอร์โมนใช้กับไม้ผล ใช้ยอดมะม่วง ขนุน ฯลฯ ฮอร์โมนใช้ในนาข้าวใช้ยอดหญ้าใบข้าว ใบไผ่ ฯลฯ แล้วนำยอดพืชล้างให้สะอาดบรรจุลงในถัง

                2. เติมอีเอ็มและกากน้ำตาลอย่างละ 1 แก้ว

                3. เติมน้ำสะอาดลงในถังเกือบเต็มให้มีช่องอากาศประมาณ 4 ซม. เอาพลาสติกปิดปากถังแล้วเอายางรัดไม่ให้อากาศเข้า-ออกได้ ปิดปากถังให้การหมักมืดคลุมทับด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์

                4. เมื่อการหมักครบ 10 วัน บรรจุลงขวดประมาณ 1 ลิตรได้ประมาณ 15 ขวด มีอายุการเก็บรักษาได้ 3 เดือน

                วิธีใช้

                1. นำฮอร์โมนยอดพืช 40 ซีซี (4 ช้อนโต๊ะ) ผสมกับน้ำ 20 ลิตร (1 ปิ๊บ) รดฉีดพ่น

                2. ใช้กับพืชผักสวนครัว รดหรือฉีดพ่นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

                3. ใช้กับไม้ผล ไม้ยืนต้น รดหรือฉีดพ่นทุกๆ 30 วัน หลังเก็บเกี่ยวช่วงไม้ผลออกดอกห้ามฉีด ไม้ผลที่ดอกยังไม่บานฉีดพ่นได้

                4. ฮอร์โมนที่ดีต้องมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว และมีราสีขาวอยู่ผิวหน้า ถ้าฮอร์โมนมีกลิ่นเหม็นห้ามนำมาใช้กับพืชจะทำให้พืชตายได้

หมายเหตุ:

วัสดุที่ใช้แทนกากน้ำตาล ดังนี้ ใช้แทนกากน้ำตาล 1 ช้อน (กรณีไม่ใช้กากน้ำตาล) เช่น

จุลินทรีย์ 1 ช้อน+น้ำอ้อย 2 ก้อน+น้ำ 10 ลิตร

จุลินทรีย์ 1 ช้อน+น้ำซาวข้าว 4 แก้ว+น้ำ 10 ลิตร

จุลินทรีย์ 1 ช้อน+นมข้นหวาน 2 ช้อน+น้ำ 10 ลิตร

จุลินทรีย์ 1 ช้อน+น้ำเปรี้ยว 2 ช้อน+น้ำ 10 ลิตร

จุลินทรีย์ 1 ช้อน+น้ำปัสสาวะ 1 แก้ว+น้ำ 10 ลิตร

ผลดีจากการใช้ปุ๋ยหมักจุลินทรีย์

                1. ดินโปร่งร่วนซุยใช้ติดต่อกัน 4 ปี หยุดใช้ 1 ปี ใน 5,6,7... ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ลงตามความเหมาะสม

                2. ทำให้ กบ เขียด กุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ กลับคืน

                3. ให้ลดปริมาณปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ ลงในปี 3,4 และ 5 ปีละ 15 % ผลผลิตจะคงที่หรือสูงขึ้น

                4. ปัญหาการเกิดโรคของต้นข้าวจะหมดไป ในปีที่ 2,3,4

                5. เกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยได้เอง และลดค่าใช้จ่าย โดยการทำเกษตรแบบยั่งยืน และพึ่งพาตนเองได้

 

การทำโบกาฉิ

                โบกาฉิ หมายถึง การทำปุ๋ยหมักโดยเอาวัสดุที่หาได้จากธรรมชาติหมักด้วยการใช้จุลินทรีย์อีเอ็ม การหมักด้วยจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพเป็นปุ๋ยหมักกองเล็กใช้เวลาหมักไม่เกิน 7 วัน จะได้ปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพสูงเพราะคุณลักษณะของจุลินทรีย์จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงคุณสมบัติของปุ๋ยหมักในอดีตเราคุ้นเคยการทำปุ๋ยหมักกองโต ใช้เวลาหมักหลายเดือนคุณสมบัติของอินทรีย์วัตถุที่เหลือ เป็นเพียงกากอินทรีย์วัสถุที่เน่าเปื่อยและปุ๋ยหมักกองโตจะมีประสิทธิภาพด้อย เพราะคุณสมบัติของจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ และสามารถทำได้ 2 อย่าง เช่น โบกาฉิฟางและโบกาฉิมูลสัตว์ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะโบกาฉิมูลสัตว์เท่านั้น

                ปุ๋ยคอก ได้แก่ มูลสัตว์ทุกชนิด เช่น มูลวัว ควาย หมู ไก่ นกกระทา ฯลฯ ซึ่งมูลสัตว์เหล่านี้พบว่ามีกลิ่นเหม็น เป็นเพราะว่าในมูลสัตว์นั้นมีจุลินทรีย์เน่าเปื่อย (เชื้อโรค) อยู่มาก เมื่อนำไปใช้ในการปลูกพืชปุ๋ยคอกแทนที่ปุ๋ยคอกนั้นจะมีประโยชน์อย่างสูงกับพืชปุ๋ยคอกนั้นก็จะเป็นตัวชักนำโรคเข้าสู่ต้นพืช เพราะการทำงานของจุลินทรีย์เน่าเปื่อยที่มีอยู่ในมูลสัตว์ ดังนั้นเพื่อให้ปุ๋ยคอกมีประสิทธิภาพสูงจึงจะต้องหมักด้วยจุลินทรีย์อีเอ็มก่อนพืชจึงจะมีผลผลิตที่มีคุณภาพให้ผลผลิตสูง ไม่มีแมลงศัตรูพืชรบกวน ดินโปร่งร่วนซุย ดินไม่อัดแน่น รายพืชขยายได้ดี มีมวลสรรพสัตว์มาพึ่งพิงอาศัยอยู่ใต้ดินมากมาย นั่นคือพื้นฐานการทำดินให้มีชีวิตที่พบง่ายด้วยตาเปล่าคือ ไส้เดือน นั่นคือสิ่งชี้ว่าดินเริ่มกลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์ตามแบบธรรมชาติดั้งเดิมด้วยการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ

                ในอดีตบรรพบุรุษเราเคยนำเอามูลสัตว์ไปใส่ในดินเฉยๆ พืชพันธุ์ธัญญาหารงามอุดมสมบูรณ์ นั่นเพราะว่า   จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพรออยู่ที่ดินก่อนแล้ว เมื่อได้มูลสัตว์ที่เรานำไปใส่ก็จะเข้ามาย่อยขยาย แล้วเร่งผลิตอาหารให้กับพืชต่อไป นั่นคือเกษตรธรรมชาติที่เกษตรกรเคยทำมาแล้วในอดีต

 

การทำโบกาฉิจากมูลสัตว์

                วัสดุ

                มูลสัตว์ (ทุกชนิด)               1              ส่วน       (ปิ๊บ)

                แกลบดิบ                               1             ส่วน       (ปิ๊บ)

                รำละเอียด                            1             ส่วน       (ปิ๊บ)

                อีเอ็ม                                      10           ซีซี          (1 ช้อนโต๊ะ)

                กากน้ำตาล                            10           ซีซี          (1 ช้อนโต๊ะ)

                น้ำสะอาด                              10           ซีซี         

 

 

 

                วิธีทำ

                ขั้นที่ 1 เตรียมอีเอ็ม/กากน้ำตาล/น้ำสะอาด ผสมไว้ในถังในอัตราส่วน 1/1/1,000 คือ น้ำ 10 ลิตร เติมอีเอ็มลง 1 ช้อนโต๊ะ และกากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ

                ขั้นที่ 2 นำมูลสัตว์+รำละเอียดผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน

                ขั้นที่ 3 เอาแกลบดิบทั้งหมดลงในน้ำที่ขยายอีเอ็มในขั้นที่ 1 จุ่มให้เปียกแล้วเอาแกลบออกสลัดน้ำที่หยดในแกลบออกพอประมาณ นำมาคลุกในส่วนผสมระหว่างมูลสัตว์+รำละเอียด คลุกส่วนผสมทั้ง 3 ส่วนให้เข้ากันจะได้ความชื้น 50% พอดี

                การหมัก

                เอาส่วนผสมบรรจุลงในกระสอบปุ๋ยโดยบรรจุลงไป 3/4 ของกระสอบปุ๋ยไม่กดให้แน่น และเลือกใช้กระสอบปุ๋ยชนิดที่มีการระบายได้ดีรอบด้าน นำไปวางลงในที่มีฟางรองเพื่อการระบายอากาศในส่วนล่าง พลิกกลับกระสอบในวันที่ 2,3,4 เพื่อเอาด้านบนและข้างลงข้างล่างอยู่ 3 วัน ในวันที่ 4 และวันที่ 5 อุณหภูมิก็จะปกติ ทั้งในระหว่างการหมักควรตรวจดูอุณหภูมิไม่ให้อุณหภูมิเกิน 50 C สามารถนำไปใช้ได้

                การเก็บรักษา

                เก็บรักษาเมื่อโบกาฉิแห้งสนิท ไม่ควรเก็บรักษาในที่ชื้นที่โดนฝนและโดนแดด โบกาฉิสามารถเก็บรักษาได้นานประมาณ 1 ปี ถ้าไม่โดนความชื้น

 

การนำโบกาฉิไปใช้

                โบกาฉิที่หมักด้วยจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพจะมีกลิ่นหอมเหมือนเชื้อเห็ด จะมีราเส้นใยสีขาวขัดใยอยู่หนาแน่นพลังประสิทธิภาพของอีเอ็มไม่ทำให้เชื้อโรคแสดงผลออกมาได้

                1. การใช้โบกาฉิกับการปลูกพืช

                                1.1 รองพื้นแปลงปลูก โดยการผสมกับหญ้า ฟาง ซากอินทรีย์วัตถุหรือมูลสัตว์ทุกชนิด ฯลฯ ใช้    โบกาฉิโรยทับในปริมาณ 1-2 กำมือ/1 ตารางเมตร รดด้วยน้ำที่ขยายอีเอ็ม (อีเอ็ม/กากน้ำตาล/น้ำสะอาดในอัตราส่วน 1/1/1,000) ใช้จอบสับให้ส่วนผสมเข้ากันกับดิน ทิ้งให้อีเอ็มขยายปรับความสมดุลของดิน 7 วัน จึงนำพืชมาปลูก

                                1.2 โรยโบกาฉิที่แปลงปลูกพืชผักในปริมาณ 1-2 กำมือ/ตารางเมตร หรือโรยรอบทรงพุ่มของต้นพืชที่ปลูก คลุมทับเศษฟางแห้ง    หญ้าแห้ง เพื่อเป็นการขยายเชื้อของอีเอ็ม

                                1.3 การปลูกพืชที่เก็บผลในระยะสั้นประมาณ 60 วัน ไม่ควรใช้โบกาฉิฟาง ควรใช้โบกาฉิมูลสัตว์ หรือปุ๋ยหมักจะได้ผลรวดเร็วทันความต้องการมากกว่า การใช้โบกาฉิแต่ละครั้งควรใช้ทีละน้อย และใช้บ่อยๆ พืชงามทันใจตามความต้องการ

                2. การใช้โบกาฉิกับการปลูกไม้ผล

                                2.1 รองก้นหลุมไม้ยืนต้น ขุดหลุมลึกประมาณ 60*60*60 ใช้เศษฟาง หญ้าแห้ง กิ่งไม้ มูลสัตว์ ซากวัตถุอินทรีย์อื่น ฯลฯ รองก้นหลุมโรยโกบาฉิ 1-2 กำมือ ผสมกับดินเป็นชั้น ชั้นละประมาณ 10-15 ซม. รดด้วยน้ำที่ขยายอีเอ็ม (อีเอ็ม/กากน้ำตาล/น้ำสะอาด ในอัตราส่วน 1/1/1,000) ใช้จอบสับให้ส่วนผสมให้เข้ากับดิน กลางหลุมใช้โบกาฉิผสมกับหญ้ากองดินให้สูงขึ้นประมาณ 30 ซม. คลุมด้วยฟางแห้ง หญ้าแห้ง รดด้วยน้ำที่ขยายอีเอ็ม ทิ้งไว้ให้   อีเอ็มขยายปรับความสมดุลของดิน 10 วัน จึงนำพืชมาปลูก

                                2.2 ใช้โบกาฉิกับไม้ยืนต้นพืชที่ปลูกไว้แล้วหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตหรือต้นฤดูฝนเริ่มใช้โบกาฉิโดยหว่านโบกาฉิรอบทรงของพุ่มไม้ผลในอัตราส่วน 1-2 กำมือ/ตารางเมตร ห้ามโรยโบกาฉิชิด-ติดกับโคนต้น จะทำให้ต้นไม้ตายได้ ถ้าต้นยังเล็กและการหว่านโบกาฉิรอบทรงพุ่มไม้ผลได้อาหารดีคลุมด้วยฟางแห้ง หรือหญ้าแห้งให้มากๆ รอบทรงพุ่มรดด้วยน้ำที่ขยายอีเอ็มในอัตราส่วนเหมือนข้อ 2.1 การใช้โบกาฉิกับไม้ผลให้ใช้ปีละ 2-3 ครั้ง เช่น หลังจากเก็บเกี่ยวของไม้ผลแต่ละประเภทหรืออาจจะใช้ในช่วงฤดูฝน ดังนี้

                                ต้นฤดูฝน ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม ควรใส่โบกาฉิในปริมาณค่อนข้างมาก

                                กลางฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม อาจใช้เท่ากับช่วงต้นฤดูฝนหรือน้อยลงก็ได้

                                ปลายฤดูฝน ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม ถ้าใส่โบกาฉิมากมาแล้วในช่วงแรกๆ หรือถ้ามีฟาง-หญ้าคลุมให้มากไม่ต้องใส่โบกาฉิอีกก็ได้ อาจใช้เฉพาะมูลสัตว์อย่างเดียวก็ได้เพราะเชื้ออีเอ็มมีอยู่บ้างแล้ว

 

การทำปุ๋ยหมัก 24 ชั่วโมง

                วัสดุ

                ฟางแห้ง หญ้าแห้ง ใบไม้ ฯลฯ                        10           ส่วน

                โบกาฉิ                                                                   1              ส่วน

                รำละเอียด                                                             2              ส่วน (1 ปิ๊บ)

                อีเอ็ม                                                                      10           ซีซี (1 ช้อนโต๊ะ)

                กากน้ำตาล                                                            10           ซีซี (1 ช้อนโต๊ะ)

                น้ำสะอาด                                                              10           ลิตร

                วิธีทำ

                ขั้นที่ 1 เตรียมอีเอ็ม/กากน้ำตาล/น้ำสะอาด ผสมไว้ในถังในอัตราส่วน 1/1/1,000 คือ น้ำ  10  ลิตรเติม              อีเอ็มลง 1 ช้อนโต๊ะ และกากน้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ    

                ขั้นที่ 2 เอาโบกาฉิ+รำละเอียด ผสมคลุกให้เข้ากัน รดด้วยน้ำที่ขยายอีเอ็มพอหมาดๆ ความชื้นประมาณ 40%

                ขั้นที่ 3 นำฟางแห้งหรือหญ้าแห้ง จุ่มลงในน้ำที่ขยายอีเอ็มไปกองไว้ โรยด้วยโบกาฉิ+รำละเอียดคลุกให้ส่วนผสมเข้ากันทุกส่วน กองให้สูงจากพื้นดินประมาณ 1 ฟุต  คลุมด้วยกระสอบป่าน

                ขั้นที่ 4 หลังจากการหมักผ่านไปแล้ว 18 ชั่วโมง กลับกองปุ๋ยหมักคลุมด้วยกระสอบไว้เหมือนเดิม เมื่อครบเวลา 24 ชั่วโมง สามารถนำไปใช้ได้

                ประโยชน์ของการขยายปุ๋ยหมัก 24 ชั่วโมง

                1. ประหยัดต้นทุนในการทำปุ๋ยหมัก สามารถเพิ่มปริมาณในการทำปุ๋ยให้ได้มากๆ ในเวลาเพียง 24 ชม.

                2. ประหยัดเวลาและแรงงาน ซึ่งปกติเคยทำปุ๋ยหมักเป็นเวลา 60 วัน เป็นอย่างต่ำเมื่อใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพแล้ว จะประหยัดทั้งเวลาและแรงงานและยังได้ปุ๋ยหมักที่มีประสิทธิภาพสูง ในเพียงเวลา 24 ชม.

                3. เมื่อครบ 24 ชั่วโมงแล้ว สามารถขยายเชื้อต่อไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด คือใช้ปุ๋ยหมัก 24 ชม. เพียง 1 ส่วนไปต่อเชื้อไปเรื่อยๆ เหมือนวิธีการเริ่มต้นทำตั้งแต่ขั้น 1-4

                4. นำไปใช้ได้เหมือนโบกาฉิทั่วๆ ไป ควรนำไปใช้ในการเพาะปลูกพืชระยะยาว เช่น คลุมโคนต้นไม้ผล คลุมแปลงปลูกพืชผัก โปรยหว่านในนาข้าว รองก้นหลุมไม้ผลหรือรองพื้นแปลงผัก

                5. ขยายหว่านในแปลงพืชเพาะปลูกขนาดใหญ่ เช่น นาข้าว ไร่มัน ไร่ปอ ไร่ข้าวโพด ฯลฯ เพราะสามารถขยายทำปุ๋ยในแปลงขนาด 10-10,000 ไร่ ในเวลาที่สั้น

                6. หาวัสดุง่ายในพื้นที่ เช่น ฟางข้าว ซังข้าวโพด ใบไม้ หญ้าแห้ง ฯลฯ สามารถนำวัสดุในพื้นที่เพาะปลูก ขยายทำปุ๋ยหมักในเวลา 24 ชั่วโมง ในพื้นที่ทำการเกษตร

                7. ไม่ยุ่งยากในการทำโรงเรือน ปัญหาการเก็บรักษา เพราะทำปุ๋ยหมักในสถานที่ที่ทำการเพาะปลูก และนำไปใช้ได้ทันที

หมายเหตุ:

วัสดุที่ใส่แทนรำละเอียด

1. ฝุ่นซังข้าวโพด                                2. มันสำปะหลัง

3. คายข้าว (จำนวนข้าว                      4. กากข้าวมะพร้าว ฯลฯ

วัสดุที่ใส่แทนแกลบ

1. ใบไม้                                 2. ขี้เลื่อย                                               3. ไม้ผุ

4. ฟางข้าว                            5. ซังข้าวโพด ฯลฯ

 


Today, there have been 4 visitors (6 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free