ไร่สวนสุวรรณ์
สาระเกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยทางใบ
มันสำปะหลัง
ผลผลิตทางการเกษตร
อีเอ็มการใช้ปุ๋ยชีวภาพเบื้องต้น
วิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์
Board
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
Satellite image
Contact
รับจ้างเพาะเมล็ดพันธุ์
ปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยอินทรีย์น้ำสูตรพด.2 
ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ เป็นปุ๋ยที่ได้จากการสกัดน้ำเลี้ยงออกจากเซลล์พืชและหรือเซลล์สัตว์โดยใช้น้ำตาล ด้วยกระบวนการหมักแบบไม่ต้องการอากาศ โดยจุลินทรีย์ ทำให้ได้น้ำสกัดชีวภาพสีน้ำตาลใสถึงดำ ที่มีองค์ประกอบที่จากสารพวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีน กรดอะมิโน ฮิวมิกแอซิด ฮอร์โมน วิตามิน และจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มากมาย จึงเป็นแหล่งธาตุอาหารพืชทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมอย่างครบถ้วน ช่วยเร่งการเจริญเติบโตและการติดดอกออกผล โดยใช้ร่วมกับปุ๋ยทางดิน
ขั้นตอนและวิธีการทำ (ในถังขนาด 150 ลิตร) ละลายกากน้ำตาล 30 กก. รำข้าว 10 กก. น้ำหรือน้ำมะพร้าว 40 ลิตร พร้อมสารเร่ง พด.2 2-3 ซอง นำวัสดุหมัก คือ ปลา และ หรือ หอยเชอรี่ ผัก ผลไม้ ที่หั่นหรือบดแล้ว รวม 90 กก. ลงในน้ำที่ละลายกากน้ำตาลและสารเร่งไว้แล้ว เติมน้ำให้ท่วม(เพื่อคนได้สะดวก) แต่ต้องต่ำกว่าขอบปากถังลงมาอย่างน้อย 20 ซม. คลุกเคล้า แล้วคนส่วนผสมดังกล่าวให้เข้ากัน คนบ่อยๆ เพื่อให้วัสดุหมักย่อยสลายเร็วขึ้น 1 เดือนขึ้นไปจึงกรองนำไปใช้(ยิ่งหมักนานยิ่งดี)
อัตราและวิธีการใช้   หมักดิน ตอซัง โดยผสมน้ำฉีดพ่น สาดหรือหยดที่ทางน้ำเข้านา อัตรา 5 ลิตร/ไร่ ขลุบหมักทิ้งไว้ 10-15 วัน เพื่อช่วยสลายฟางข้าวให้เปื่อยยุ่ย จะทำให้ไถพรวนได้ง่าย อาจหยดที่ทางน้ำเข้านา 5 ลิตร/ไร่ อีกครั้งเพื่อฟื้นฟูดิน เพิ่มปริมาณและกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดิน จากนั้นผสมน้ำฉีดพ่นให้ทางใบอัตรา 50-80 ซีซี /น้ำ 20 ลิตร (หรือ 500–800 ซีซี / น้ำ 200 ลิตร) ในนาข้าวเมื่ออายุประมาณ 20, 40 และ 60 วัน ไม้ผล ทุก15-30 วัน   * พืชผัก ทุก 3-5 วัน(ผสมเจือจางกว่าใช้ในนา)
 
ปุ๋ยอินทรีย์น้ำสูตรฮอร์โมนไข่ / เร่งดอก
วัสดุและวิธีทำ(ในถังขนาด 10 ลิตร) ไข่หอยเชอรี่ 5 กก. + กากน้ำตาล 5 กก. + รำละเอียด 1 กก. + ปุ๋ยอินทรีย์น้ำสูตร พด. 2 = 250 ซีซี   หรือ ใช้ไข่ไก่ทั้งเปลือก 5 กก. +กากน้ำตาล 5 กก.  + แป้งข้าวหมาก 1 ลูก  + ปุ๋ยอินทรีย์น้ำสูตร พด. 2 = 250 ซีซี  โดย นำไข่ไก่ทั้งลูกและแป้งข้าวหมากปั่นให้ละเอียด ใส่กากน้ำตาล ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้ว ใส่น้ำมะพร้าวพอคนหรือกวนได้ นำไปบรรจุในถังพลาสติก ปิดฝา แต่ควรคนบ่อยๆ หมักทิ้งไว้ 7-15 วัน จึงกรองน้ำไปใช้   อัตราและวิธีใช้ ใช้อัตรา 5-10 ซีซี. / น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน ช่วงพืชใกล้ออกดอก ขณะที่แดดอ่อน(ช่วงที่ข้าวตากเกสรให้เลี่ยงไปฉีดช่วงเย็นแทน) ควรบำรุงให้ต้นพืชมีความสมบูรณ์ก่อน ข้าว เมื่ออายุ 55-60 วัน ควรฉีดประมาณ 2-3 ครั้ง พืชผัก ไม้ผล เมื่อใกล้ออกดอกจะทำให้การติดดอกสม่ำเสมอ ขั้วเหนียว
 
การต่อเชื้อจุลินทรีย์พด.3 รักษาโรครากเน่าโคนเน่า“ปุ๋ยหมักชีวภาพจานด่วน”
ปุ๋ยหมักจานด่วน เป็นปุ๋ยที่ได้จากการนำวัสดุอินทรีย์ชนิดต่างๆ มาหมักใช้อย่างเร่งด่วน โดยใช้สารเร่งจุลินทรีย์ร่วมด้วย
ประโยชน์ ทำให้ดินร่วนซุย เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน เชื้อไตรโครเดอม่าใน พด.3 ช่วยป้องกันโรครากเน่า โคนเน่าในพืชผัก ไม้ผล รากพืชแข็งแรงและมีปริมาณมาก นอกจากนี้ยังช่วยให้ดินปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ให้พืชดีขึ้น
วัสดุที่ใช้   แกลบดิบและแกลบดำรวม 6 ปี๊บ + มูลสัตว์ 6 ปี๊บ + รำข้าวละเอียด 6 กก. + กากน้ำตาล 3 กก. + สารเร่ง พด.1 และหรือ พด.3 รวม 2 ซอง + ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ(สูตรพด.2) 3 ลิตร + น้ำสะอาดหรือน้ำมะพร้าว 10–20 ลิตร
วิธีทำ คลุกเคล้า แกลบดิบ แกลบดำ รำข้าว มูลสัตว์ ผสมสารเร่ง พด.1 พด.3 กากน้ำตาล น้ำ และปุ๋ยอินทรีย์น้ำคนให้เข้ากันนานอย่างน้อย 10 นาที แล้วราดบนกองวัสดุคลุกเคล้าเข้ากันให้ชุ่ม ให้ได้ความชื้นประมาณ 60 % (กำแล้ววัสดุคงรูป น้ำไม่ไหลง่ามมือ) ตั้งกองวัสดุให้สูง 50 ซม.คลุมด้วยกระสอบป่าน หรือบรรจุกระสอบปุ๋ยมัดปาก วางในร่มเป็นเวลา 7-15 วัน (ควรผลิก กระสอบทุก 3 วัน) จึงนำไปใช้   ** หากใช้ขี้วัวอาจมีปัญหาการระบาดของวัชพืช ควรให้ความชื้นและหมักต่ออย่างน้อย 30 วัน
อัตราและวิธีการใช้   พืชไร่ นาข้าว พืชผัก หรือไม้ดอกไม้ประดับ 100 – 200 กก./ไร่ โดยหว่านให้ทั่วแปลงก่อนไถพรวน/ทำเทือก หรือใส่ระหว่างแถวหลังปลูกพืช ไม้ผลหรือไม้ยืนต้น 1-3 กก./ต้น โดยรองก้นหลุมหรือรอบทรงพุ่มทุกปี ในแปลงเพาะกล้า 1 กก./พื้น ที่ 10 ตร.เมตร โรยแล้วคลุกเคล้าให้ทั่วแปลงเพาะกล้า  
 
ปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากเศษอาหารสูตรพด.6
ประโยชน์ เพื่อใช้ดับกลิ่นเหม็น ใช้ทำความสะอาดห้องน้ำ ห้องครัว คอกสัตว์ บ่อปลา ช่วยบำบัดน้ำเสีย และลดกลิ่นเหม็นตามท่อระบายน้ำและกองขยะต่างๆ ใช้หมักดิน เศษพืช ตอซัง หรือผสมน้ำฉีดพ่นให้ทางใบพืช *เป็นการลดปริมาณขยะในครัวเรือน
วัสดุและวิธีทำ (ในถังพลาสติกขนาด 120 ลิตร) เศษอาหาร ขยะสด 60-80 กก. + กากน้ำตาล 20-30 กก. น้ำหรือน้ำมะพร้าว 20-40 ลิตร(แล้วแต่ประเภทเศษอาหารว่ามีน้ำ สดหรือแห้ง) + สารเร่ง พด.6 จำนวน 2 ซอง ** กรณีที่ต้องการใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำหรือในครัวเรือนเท่านั้น ใช้น้ำมะพร้าว(แทนน้ำและเศษอาหาร) 80 ลิตร/กากน้ำตาล 20 กก.** คนและหมักไว้ 15 วันก่อนใช้ อัตราและวิธีการใช้  บริเวณที่ต้องการบำบัดใช้ปุ๋ยน้ำสูตร พด.6 อัตรา 2 ลิตร/น้ำ 20 ลิตร ราด ฉีดพ่นทุก 3 วัน ในบ่อปลาใช้ปุ๋ยน้ำสูตร พด.6 สาดหรือฉีดพ่นให้ทั่วบ่อ 5-10 ลิตร/ไร่/ครั้ง หมักดิน ใช้อัตรา5-8 ลิตร/ไร่ ราดหรือฉีดพ่นให้ทั่วในนาและหมักตอซังทิ้งไว้ 10-15 วันก่อนไถพรวน หรือ ฉีดพ่นให้ทางใบพืช  5-10 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร เพื่อเร่งการเจริญเติบโต และติดดอกออกผล
 
สมุนไพรป้องกันโรคแมลงศัตรูพืชสูตรพด.7
 
เป็นสารสกัดจากพืชที่มีกลิ่นฉุน รสเผ็ด ขม สารเบื่อเมา เพื่อป้องกัน,ไล่,กำจัดแมลงศัตรูพืช เช่น หัวกลอย หนอนตายหยาก เสือมอบ โล่ติ้น สะเดา ตะไคร้หอม เปลือกซาก สบู่ดำ สบู่เลือด ข่า ขิง พริก มะกรูด ใบ/ดอกลำโพง ฯลฯ * จากพืชมียางหรือรสฟาดเพื่อผลิตสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ว่านน้ำ กระเทียม เปลือกมังคุด แสยก กล้วยดิบ ลูกตาลสุก ใบมะรุม ใบยูคา
วิธีทำ (ในถังขนาด 120 ลิตร)   ละลายกากน้ำตาล 5-10 กก.กับน้ำหรือน้ำมะพร้าว 40 ลิตร พร้อมสารเร่ง พด.7 จำนวน 1 ซอง นำสมุนไพรอย่างน้อย 3-4 ชนิดขึ้นไป บดหรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ รวม 50-60 กก. ใส่ลงในน้ำที่ละลายกากน้ำตาลและสารเร่งฯไว้แล้ว เติมน้ำให้ท่วมวัสดุหมัก แต่ต้องต่ำกว่าขอบปากถังลงมาอย่างน้อย 20 เซนติเมตร คลุกเคล้าและคนส่วนผสมดังกล่าวให้เข้ากัน ควรคนบ่อยๆ เพื่อให้สารออกฤทธิ์ละลายออกมา หมัก 21 วันขึ้นไป จึงกรองหรือคั้นน้ำนำไปใช้
 
80-150 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร หรือ 0.8-1.5 ลิตร/น้ำ 200 ลิตร ทุก 3-5 วัน เมื่อแมลงเริ่มระบาด ส่วนกากนำไปทำปุ๋ยหมักหรือนำไปหว่านในแปลงพืชผักเพื่อป้องกันหรือไล่แมลงศัตรูพืช
 
 
วิธีและอัตราการใช้    โดยผสมน้ำฉีดพ่นป้องกันโรค แมลงศัตรูพืช อัตรา
 
 
 
 
***สมุนไพรรักษาเชื้อราจานด่วน** เพื่อรักษาโรคใบขีด,ใบจุดสีน้ำตาลในข้าว แคงเกอร์ในส้ม แอนแทรกโนสในมะม่วง
วัสดุและวิธีทำ หั่น/บดกระเทียม 0.5 กก. และว่านน้ำ 0.5 กก. + เหล้าขาว 1 ขวด เติมน้ำพอท่วมวัสดุหมักไว้ 24 ชม. จึงคั้นน้ำนำไปใช้ อัตรา 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร โดยฉีดพ่นทุก 3-5 วัน ช่วงที่โรคดังกล่าวเริ่มระบาด (*ขวัญชัย แตงทอง หมอดินอาสาชัยนาท)
 
การปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด
 
ปุ๋ยพืชสด คือ ปุ๋ยที่ได้จากการไถกลบเศษหรือต้นพืชขณะที่ยังสดลงไปในดิน ปล่อยให้ย่อยสลายระยะหนึ่ง แล้วจึงปลูกพืชหลักตาม ปกตินิยมใช้พืชตระกูลถั่วเป็นพืชปุ๋ยสด เช่น ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า ปอเทือง ถั่วมะแฮะ โสนต่างๆ ฯลฯ เนื่องจากปลูกง่าย เป็นพืชที่สามารถตรึงธาตุอาหารไนโตรเจนจากอากาศได้ดี ไม่ระบาดเป็นวัชพืชในภายหลัง โดยตัดสับหรือไถกลบในช่วงที่พืชกำลังออกดอกประมาณ 50% เพราะจะได้ปุ๋ยพืชสดคุณภาพดี น้ำหนักสดต่อไร่สูงและย่อยสลายง่าย จึงปลูกพืชหลักตามได้ไวขึ้น สามารถดำเนินการได้อย่างกว้างขวางในพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น แปลงพืชไร่ นาข้าว และพื้นที่ดินเสื่อมโทรม
พืชตระกูลถั่วที่แนะนำให้ปลูกทำปุ๋ยพืชสด
ถั่วพุ่ม - นิยมปลูกทั้งในแปลงพืชไร่ นาข้าว(ที่น้ำไม่แฉะ)หรือในแปลงไม้ผลยืนต้น ใช้เมล็ดหว่านอัตรา 7-8 กก./ไร่ ไถกลบเมื่ออายุ 45-60 วัน ไปุ๋ยสด 2-3 ตัน/ไร่ ซึ่งจะให้ธาตุไนโตรเจน/ฟอสฟอรัส/โปตัสเซี่ยมประมาณ 2.9/0.6/3.5% ของนน.แห้ง
ถั่วพร้า   - นิยมปลูกในแปลงพืชไร่,นาข้าว ทนแล้งได้ดี โดยใช้เมล็ดพันธุ์ 10 กก./ไร่  ไถกลบเมื่ออายุ 60-80 วัน ได้ปุ๋ยสด 3 ตัน/ไร่ ซึ่งจะให้ธาตุไนโตรเจน/ฟอสฟอรัส /โปตัสเซี่ยม ประมาณ 3.0 / 0.4 / 3.0  % ของ นน.แห้ง
 
ปอเทือง   - นิยมปลูกในแปลงพืชไร่,นาข้าว โดยหว่านหรือโรยเป็นแถวระยะแถว 100 ซม.ใช้เมล็ดพันธุ์ 3-5 กก./ไร่ ไถกลบเมื่ออายุ 50-70 วัน ได้ปุ๋ยสด 3-4 ตัน/ไร่ ซึ่งจะให้ธาตุไนโตรเจน/ฟอสฟอรัส/โปตัสเซี่ยมประมาณ 3.0/0.4/3.0% ของนน.แห้ง
โดยไถกลบขณะที่พืชปุ๋ยสดกำลังออกดอก 50 % เพราะจะได้ปริมาณธาตุอาหารและน้ำหนักสดต่อไร่สูง ลำต้นยังไม่แข็งมาก สามารถปลูกพืชหลักตามได้ภายใน 10–15 วัน หากพืชปุ๋ยสดอายุมากกว่านี้ ก็ต้องไถกลบทิ้งไว้นานกว่านี้  


Today, there have been 5 visitors (15 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free