ไร่สวนสุวรรณ์
สาระเกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยทางใบ
มันสำปะหลัง
ผลผลิตทางการเกษตร
อีเอ็มการใช้ปุ๋ยชีวภาพเบื้องต้น
วิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์
Board
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
Satellite image
Contact
รับจ้างเพาะเมล็ดพันธุ์

0.1

            2. เพื่อเพิ่มคุณภาพและผลผลิต :

ปุ๋ยทางใบที่มีสัดส่วนของไนโตรเจนดังนั้นเป็นที่นิยมใช้กันมาก คือ ราวร้อยละ 50 ของปุ๋ยทางใบทั้งหมด เมื่อนำมาใช้ร่วมในการผลิตผักและช่วยให้ผักดูอวบและเขียวสด เนื่องจากไนโตรเจน ส่งเสริมการเติบโตของต้นและใบยังช่วยเพิ่มปริมาณของคลอโรฟิลล์ในใบ

ปุ๋ยทางใบชนิดเกล็ดที่มีสัดส่วนของฟอสฟอรัสสูงได้รับความนิยมรองลงมา คือ ใช้ประมาณร้อยละ 28 ปุ๋ยประเภทนี้ช่วยเพิ่มคุณภาพของไม้ดอกไม้ประดับ หากใช้เสริมในไม้ผลก่อนการออกดอกจะช่วยให้ดอกสมบูรณ์

ปุ๋ยทางใบที่มีสัดส่วนของโพแทสเซียมสูง ใช้กันเพียงร้อยละ 11 ของปุ๋ยทางใบทั้งหมดเพื่อเสริมธาตุนี้ในช่วงการพัฒนาของผลในไม้ผลหลายชนิดและช่วยให้รสชาติของผลไม้ดีขึ้น

        3. เพื่อช่วยให้พืชฟื้นตัวจากปัญหาความขาดแคลนในบั้นปลาย :

 

 

ข้อควรระวังในการใช้ปุ๋ยทางใบ

    1. ละลายหรือผสมปุ๋ยกับน้ำในอัตราส่วนที่แนะนำ อย่าผสมให้เข้มข้นเกินไป จะทำให้ใบพืชไหม้
    2. ปุ๋ยทางใบจะช่วยแก้ปัญหาการขาดธาตุอาหารได้ดี ถ้าฉีดพ่นปุ๋ยที่ให้ธาตุนั้นเร็วที่สุด ถ้ามีอาการรุนแรงมากแล้วการใช้ปุ๋ยทางใบจะไม่เกิดผล
    3. ควรถือว่าการใช้ปุ๋ยทางใบเป็นเพียงการเสริม แต่การบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีทางดินเป็นงานหลัก หากบำรุงดีแล้วไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยทางใบ

 

        4. เพื่อวัตถุประสงค์อื่น : เช่นบังคับให้มะม่วงออกดอกและติดผลนอกฤดูโดยการใช้สารพาโคลบิวทราโซล รดที่พื้นดินใต้พุ่มต่อจากนั้นประมาณ 75 – 90 วัน ก็กระตุ้นให้แตกตาดอกโดยฉีดพ่นด้วยสารละลายโพแทสเซียมไนเตรท 2.5 % หรือไทโอยูเรีย 0.5 % ซึ่งจะช่วยให้มะม่วงแทงช่อดอก 2 สัปดาห์
สำหรับพืชล้มลุกโดยทั่วไป เมื่อย่างเข้าสู่ผลิดอกออกผล อินทรีย์สารต่าง ๆ ที่เคยสะสมไว้ในใบจะเริ่มเคลื่อนย้ายไปสร้างผล เป็นเหตุให้รากพืชได้รับอาหารน้อย ในช่วงนี้การเจริญเติบโตของระบบรากจึงหยุดลง แต่รากก็ยังต้องทำหน้าที่ต่อไปด้วย ประสิทธิภาพที่ต่ำ ปริมาณของธาตุอาหารที่ดูดได้จากดินก็น้อยลงไปด้วย สำหรับในพืชตระกูลถั่วนั้นช่วงนี้ปมรากอาจขาดอาหารจึงเริ่มเน่าและหลุดจากราก ขณะที่รากดูดธาตุไนโตรเจนได้น้อยลง และไม่มีกิจกรรมการตรึงไนโตรเจนอีก พืชจึงไม่มีไนโตรเจนเพียงพอแก่การบำรุงลำต้น ใบ ดอก และผล ในช่วงนี้ไนโตรเจนจากใบจะเคลื่อนย้ายไปสร้งผลเป็นเหตุให้ใบเหลืองและในที่สุดก็แห้งตาย พืชตระกูลถั่วมักประสบปัญหานี้ได้มากกว่าพืชตระกูลหญ้าเพราะใช้ไนโตรเจนมากกว่า ดังนั้นการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนทางใบแก่พืชเหล่านี้ในช่วงที่ออกดอก จะช่วยชะลอการร่วงของใบและมีแนวโน้มจะเพิ่มผลผลิตได้ด้วย: ปุ๋ยทางใบสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
ปุ๋ยทางใบ
 

ปุ๋ยทางใบ

ปุ๋ยทางใบ คือ สารที่ทำให้เป็นสารละลายแล้วฉีดพ่นทางใบเพื่อให้ธาตุอาหารแก่พืช

ชนิดของปุ๋ยทางใบ

1. ชนิดเป็นของแข็ง หรือเรียกว่าปุ๋ยเกล็ด ปุ๋ยพวกนี้ขึ้นทะเบียนเป็นปุ๋ยเคมีบอกสูตรปุ๋ยและปริมาณธาตุอาหารรับรองไว้ในฉลาก สารเคมีซึ่งประกอบกันเป็นปุ๋ยจะต้องละลายน้ำง่าย เมื่อกสิกรต้องการใช้ก็ตวงหรือชั่งปุ๋ยแล้วละลายน้ำตามคำแนะนำก็จะใด้ปุ๋ยซึ่งสามารถใช้ได้ทันที

2. ชนิดเป็นของเหลว เป็นปุ๋ยที่ละลายมาในลักษณะที่เข้มข้นเมื่อต้องการใช้ก็ตวงน้ำปุ๋ยมาเจือจางด้วยน้ำตามคำแนะนำ ปุ๋ยแบบเหลวบางพวกขึ้นทะเบียนเป็นปุ๋ยเคมีคือมีสูตรปุ๋ยและปริมาณธาตุที่รับรองบนฉลาก

ปุ๋ยเคมีทั้งชนิดเกล็ดและชนิดเหลว นอกจากจะมีธาตุหลัก คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แล้วอาจมีธาตุรองและจุลธาตุผสมอยู่ด้วย หากต้องการทราบว่าปุ๋ยนั้นๆมีธาตุใดอยู่บ้าง และมีอยู่มากน้อยเพียงใด อาจตรวจสอบได้ที่ฉลากของปุ๋ยนั้น

หลักการพิจารณาใช้ปุ๋ยทางใบ

 

หลักการพิจารณาใช้ปุ๋ยทางใบ ควรพิจารณาด้านความเหมาะสมเรื่อง ดินพืช และด้านเศรษฐกิจ ดังนี้

1. ด้านดิน: เนื่องจากดินเป็นแหล่งธาตุอาหารของพืชตามธรรมชาติ การบำรุงดินให้มีธาตุอาหารบริบูรณ์ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ดินที่มีเนื้อดินหยาบ เช่น ดินหยาบหรือดินร่วนทราย ดินที่มีการพังทลายและชะกร่อน ดินที่มีอินทรีย์วัตถุต่ำ ดินเหล่านี้มักจะให้ธาตุอาหารแก่พืชไม่เพียงพอ สิ่งที่ควรกระทำคือ บำรุงดินด้วนปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี และป้องกันการพังทลายชะกร่อนของดิน เพื่อให้ดินมีธาตุต่างๆ เพียงพอ จึงจะถือว่าเป็นการจัดการดินอย่างถูกต้อง

เมื่อบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีตามความจำเป็นแล้ว หากปรากฎว่าพืชยังได้รับบางธาตุไม่เพียงพอก็ฉีดพ่นปุ๋ยที่ให้ธาตุนั้นเสริมเข้าไปพืชก็จะเจริญเติบโตเป็นปกติ โดยขอให้ถือว่าการบำรุงดินเป็นงานหลัก และการให้ปุ๋ยทางใบเป็นงานเสริมและทำเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

2. ด้านพืช: การให้ปุ๋ยทางใบนิยมกันในหมู่ชาวสวนผักและไม้ผล สำหรับข้าวและพืชไร่นั้นใช้กันน้อย

ชาวสวนผักบางรายนิยมให้ปุ๋ยทางใบในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งจะช่วยให้ผักไม่แกร็น และเจริญเติบโตดีขึ้นเมื่อพิจารณาจากราคาผักค่อนข้างดีในฤดูแล้ง พบว่า การให้ปุ๋ยทางใบกับผักกินใบนั้นให้ผลตอบแทนคุ้มค่า

ไม้ผล การให้ปุ๋ยทางใบมักปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตในบางขั้นตอนของพืชเช่น ฉีดพ่นปุ๋ยที่มีสัดส่วนของฟอสฟอรัสค่อนข้างสูงก่อนออกดอก เพื่อให้การออกดอกและติดผลดีขึ้น ใช้ปุ๋ยที่มีสัดส่วนของโพแทสเซียมค่อนข้างสูง เมื่อติดผลแล้วเพื่อให้ผลโตและรสชาดดีขึ้น ชนิดของปุ๋ยทางใบที่ให้กับไม้ผลมักจะสอดคล้องกับปุ๋ยที่ให้ทางดิน อย่างไรก็ตามควรถือว่าการให้ปุ๋ยทางใบเป็นการเสริมปุ๋ยทางดิน

3. ด้านเศรษฐกิจ : ขณะนี้ด้านผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการใช้ปุ๋ยทางใบ ยังไม่ได้มีการค้นคว้าอย่างจริงจัง จึงยังไม่อาจกล่าวได้ว่าการให้ปุ๋ยทางใบกับพืชแต่ละชนิดเป็นสิ่งจำเป็นหรือไม่ แต่ในแง่ของผู้ผลิตที่มีราคาค่อนข้างแพง เช่น ผักและผลไม้ซึ่งมีการลงทุนสูงอยู่แล้ว การให้ปุ๋ยทางใบกับพืชเหล่านั้นอย่างเหมาะสม จะเพิ่มต้นทุนอีกเล็กน้อยผู้ผลิตรายใหญ่จึงยังให้ปุ๋ยทางใบกันอยู่

วัตถุประสงค์ของการใช้ปุ๋ยทางใบ

 

การใช้ปุ๋ยทางใบมีวัตถุประสงค์หลักในการใช้อยู่ 4 ประการ คือ

      • เพื่อแก้ไขอาการขาดธาตุอาหาร
      :

ในดินด่างพืชมักขาดธาตุเหล็ก (Fe) ทองแดง (Cu) สังกะสี (Zn) แมงกานีส (Mn) และโบรอน (Bo)การให้ปุ๋ยฟอสเฟตอัตราสูงก็คงเป็นเหตุให้พืชขาดสังกะสีได้เช่นกัน การใส่ปุ๋ยจุลธาตุเหล่านั้นทางดินในรูปเกลืออินทรีย์ ก็มักจะตกตะกอน และไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชเต็มที่แต่ถ้าใช้ปุ๋ยจุลธาตุคีเลในดินก็ย่อมเสสียค่าใช้จ่ายสูง วิธีการแก้ไข คือ ใช้สารละลายของเกลือจุลธาตุดังกล่าวฉีดพ่นทางใบ ซึ่งเป็นวิธีที่ให้ผลเร็วและชัดเจนกว่าการให้ทางดิน แต่อย่างไรก็ตามดินยังเป็นทรัพยากรหลักในการผลิตพืชและถือว่าดินเป็นแหล่งธาตุอาหารที่สำคัญสำหรับพืช การบำรุงดินตามหลักการทีกล่าวข้างต้นจึงเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้การใช้ปุ่ยทางใบจึงอาจยอมรับเข้ามาเสริมความสมบูรณ์ของการผลิต โดยเฉพาะช่วยแก้ไขการขาดธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม ดังนี้

พืช

ขาด

อาการ

ใช้ปุ๋ย

ความเข้มข้น %

ผักกาดขาวปลี

ไนโตรเจน

ใบล่างเหลือง

ยูเรีย

0.5

ข้าวโพด

โพแทสเซียม

ปลายฝักไม่มีเมล็ด

โพแทสเซียมซัลเฟต

1.0

มะเขือเทศ

แคลเซียม

ก้นเน่า

แคลเซียมไนเตรท

0.5

ส้ม

โบรอน

ไส้ผลกลวง

กรดบอริก

บล็อกเคอรี่

โบรอน

ลำต้นกลวง

กรดบอริก

0.1

ส้ม

สังกะสี

ใบแก้ว

สังกะสีซัลเฟท

0.3

ถั่วลิสง

เหล็ก

ยอดขาว

เฟอรัสซัลเฟท

0.3

 
Today, there have been 1 visitors (8 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free