ไร่สวนสุวรรณ์
สาระเกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยทางใบ
มันสำปะหลัง
ผลผลิตทางการเกษตร
อีเอ็มการใช้ปุ๋ยชีวภาพเบื้องต้น
วิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์
Board
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
Satellite image
Contact
รับจ้างเพาะเมล็ดพันธุ์
วิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์

วิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์

 

                “ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ” ใช้ได้กับต้นไม้ทุกต้น ไม่ว่าจะเป็นที่สวนไม้ดอก ไม้ผล สวนหย่อม หรือต้นไม้รอบบ้าน ทุกครัวเรือนสามารถผลิตใช้เอง

ได้ไม่ยากเพียงแต่ต้องศึกษาหรือสังเกตก่อนใช้ว่าพืชที่ปลูกแต่ละชนิดนั้น ชอบอะไร ต้องการธาตุอาหารอย่างไร ในที่นี้จะเสนอสูตร  

 ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสูตร 1 ของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ หมู่ที่ 1 บ้านท่ากระท้อน ตำบลเขาสมิง อำเภอขาสมิง จังหวัดตราด ดังนี้

                                                                    อุปกรณ์

                - สิ่งที่สำคัญก็ต้องมีโรงเรือนสำหรับหมักปุ๋ย ตากปุ๋ยกลับปุ๋ย

                - เครื่องกลับปุ๋ย จอบ พลั่ว แล้วแต่จะเลือกใช้ตามความต้องการ

                - เครื่องบดวัสดุ พืชสด เช่น หญ้า ผักตบชวา

                - ถังหมักน้ำชีวภาพ (ถังพลาสติก)

   วัสดุ

                วัสดุที่ใช้และต้องเตรียม

                - น้ำหมักชีวภาพ

                - ขี้เถ้าแกลบ

                - มูลวัวนม , มูลไก่ไข่

                - ภาชนะที่จะใส่ปุ๋ยเมื่อนำไปใช้ (กระสอบ)

ขั้นตอนการทำ

      1. การทำน้ำหมักชีวภาพ

             วัสดุที่ใช้

 1. ผลไม้ ( สับประรด ) หั่นละเอียด

 2. ปลาหรือเศษปลา

 3. พ.ด. 2 ( จุลินทรีย์สารเร่งในขบวนการหมัก )

อัตราส่วนในการผสม

 1. ผลไม้( สับประรด ) หั่นละเอียด 15 กิโลกรัม

 2. ปลาหรือเศษปลา                   45 กิโลกรัม

 3. กากน้ำตาล                          45 กิโลกรัม

 4. พ.ด. 2                               50 กรัม

 5. น้ำ                                    20 ลิตร

 

วิธีการทำ

                นำสับประรดหั่นละเอียด ปลาหรือเศษปลา กากน้ำตาล น้ำ มาผสมเคล้าให้เข้ากัน   แล้วนำน้ำละลายส่วนผสม พด.2 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมให้เข้ากันแล้วนำไปใส่ในถังหมัก แล้วเติมน้ำจนเต็มถัง ขนาด 150 ลิตร ปิดถังไว้นาน 6 เดือน จึงจะนำมาใช้เป็นส่วนผสมของ ปุ๋ยหมักได้

          2. การเทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพ

วัสดุที่ใช้

1. มูลไก่ไข่                        260 ถุงๆละ 12 กิโลกรัม

2. มูลวัวนม                             60 กระสอบๆละ 13 กิโลกรัม

3. รำ                                   450 กิโลกรัม

4. ขี้เถ้าแกลบ             2,000 กิโลกรัม

5. ปูนยิบซั่ม                 250 กิโลกรัม

6. ฟอสเฟต                  500 กิโลกรัม

7. โดโลไมท์                  500 กิโลกรัม

8. น้ำหมักชีวภาพ            60 ลิตร

9. กากน้ำตาล                 50 ลิตร

จะได้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพ 7,000. กิโลกรัม หรือ 7 ตัน

วิธีทำ

1.      นำมูลวัวนมมาเทกองในพื้นที่ที่จะหมักให้เต็มบริเวณพื้นที่

2.      นำมูลไก่ไข่มาโรยทับให้ทั่ว

3.      โรยรำละเอียดให้ทั่วกองปุ๋ย

4.      โรยขี้เถ้าแกลบให้ทั่ว

5.      ใส่ปูนทุกชนิดที่กล่าวมาให้ทั่วกองปุ๋ย

6.   นำน้ำหมักชีวภาพที่เตรียมไว้ผสมกับกากน้ำตาล 50 ลิตร น้ำสะอาด 1,200. ลิตร คนเคล้าด้วยกัน เสร็จแล้วใช้ปั๊มฉีดพ่นให้ทั่วกองปุ๋ยพร้อมกับพรวน เคล้าวัสดุทั้งหมดให้เข้ากันด้วยเครื่องพรวนปุ๋ย กองปุ๋ยเมื่อผสมเสร็จแล้วไม่ควรสูงเกิน      40 เซนติเมตร ความชื้น ประมาณ 60 %

7.   ใช้วัสดุกระสอบป่านปิดกองปุ๋ย ทิ้งเวลาหมักไว้ 9 วัน โดยต้องกลับปุ๋ยวันละ 1 ครั้ง เพื่อให้มีการระบายความร้อนที่เกิดจากการทำงานของจุลลินทรีย์ ให้อากาศถ่ายเท

8.   ปุ๋ยจะเริ่มมีอุณหภูมิลดลงในช่วงวันที่ 9 เป็นอันว่าในวันที่ 9 ปุ๋ยสามรถนำไปใช้ได้ โดยใส่กระสอบทิ้งไว้อีก 3 วัน เพื่อให้ความร้อนลดลงจนเหลือน้อยที่สุด จึงนำไป ใส่ต้นไม้ได้

 

วิธีการนำปุ๋ยไปใช้ในสวนผลไม้

อัตราการใช้ ขึ้นอยู่กับจำนวนต้นของผลไม้และขนาดของความโตของต้นไม้สังเกตได้จากการแผ่ของทรงพุ่ม การหว่านให้หว่านรอบทรงพุ่ม

ข้อพิจารณาในการใส่ปุ๋ย

    ให้ดูจากอายุของต้นไม้นั้นๆ อายุมากต้องใส่ในปริมาณหนาแน่นมากขึ้นกว่าต้นไม้ 

อายุอ่อน

ข้อควรระวังในการใส่ปุ๋ย

     เมื่อใส่หรือหว่านปุ๋ยแล้วให้หาเศษวัชพืชวางปกคลุมปุ๋ยไว้ไม่ให้ถูกแดดมากนักเพื่อเพิ่ม

ประสิทธิภาพการทำงานของปุ๋ยและจุลลินทรีย์

การตรวจดูความเปลี่ยนแปลงของต้นไม้

     หลังจากการใส่ปุ๋ย ทิ้งไว้ประมาณ 10 – 15 วัน จะเห็นได้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงของ

ต้นไม้ สังเกตได้จากใบไม้จะมีสีเขียวเข้มขึ้น มีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นจะเห็นได้ชัดในต้นไม้ที่เริ่มปลูกใหม่ สำหรับต้นไม้ที่มีอายุมาก จะแตกใบอ่อนเพิ่มขึ้น ขนาดของใบจะยาวใหญ่เพิ่มขึ้น

ระยะเวลาการใส่ปุ๋ย

     เริ่มใส่ปุ๋ยในช่วงหลังฤดูเก็บเกี่ยวแล้วเพื่อบำรุงต้นและใบให้มีความพร้อมที่จะออกผล 

ในฤดูต่อไป ใส่ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งที่ 1 ประมาณ 3 เดือน เพื่อเตรียมความพร้อมในการ     ออกดอก ระยะที่ 3 ใส่ระหว่างผลไม้ติดผลแล้ว เพื่อให้ผลมีขนาดใหญ่สมบูรณ์ รสชาติดี ขายได้ในราคาที่สูงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค

ข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

1.      ลดต้นทุนการผลิต

2.      ผลิตใช้ได้เองในครัวเรือน

3.      ไม่มีสารเคมีตกค้างในดิน

4.      ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมดี

5.      ปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค

6.      ผลผลิตมีรสชาติ หวาน กรอบ ตามธรรมชาติ

7.      จำหน่ายได้ในราคาสูง

8.      ต้นไม้มีอายุยืนออกดอกออกผลผลิตได้นาน

ข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

1.      ต้องใช้ในปริมาณที่มากกว่าปุ๋ยเคมี ทำให้สิ้นเปลืองเวลาและแรงงาน

2.      การตอบสนองของพืชช้ากว่าการใช้เคมี

 


Today, there have been 4 visitors (8 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free