ไร่สวนสุวรรณ์
สาระเกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยทางใบ
มันสำปะหลัง
ผลผลิตทางการเกษตร
อีเอ็มการใช้ปุ๋ยชีวภาพเบื้องต้น
วิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์
Board
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
Satellite image
Contact
รับจ้างเพาะเมล็ดพันธุ์
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ชื่อสามัญ Maize, Corn
ชื่อวิทยาศาสตร์ Zea mays L.

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
• ความสูงจากระดับน้ำทะเล ไม่เกิน 1,000 เมตร
• ความลาดเอียงไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์
• ดินร่วน ดินร่วนเหนียว ดินร่วนทราย หรือดินเหนียว
• ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีอินทรียวัตถุไม่น้อยกว่า 1.0 เปอร์เซ็นต์มีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ไม่น้อยกว่า 10 ส่วนในล้านส่วนโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ไม่น้อยกว่า 60 ส่วนในล้านส่วน
• การระบายน้ำและถ่ายเทอากาศดี
• ระดับหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 25 เซนติเมตร
• ค่าความเป็นกรดด่างระหว่าง 5.5-7.0
• อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตประมาณ 25-35 องศาเซลเซียส
• ปริมาณน้ำฝนกระจายสม่ำเสมอ 1,000-1,200 มิลลิเมตรต่อปี


พันธุ์ที่นิยมปลูก
มีอายุเก็บเกี่ยว 100-120 วัน แหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ ปราจีนบุรี สระบุรี ลพบุรี นครราชสีมา เพชรบูรณ์ สุโขทัย และเลย มี 2 กลุ่ม

พันธุ์ลูกผสม
• เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด มีลักษณะทางการเกษตรสม่ำเสมอ ได้แก่ ขนาดฝัก ความสูงฝัก ความสูงต้น อายุถึงวันออกไหม และเก็บเกี่ยว ให้ผลผลิตและคุณภาพสูงกว่าพันธุ์ผสมเปิด จึงเป็นที่ต้องการของตลาด
• ไม่สามารถเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ได้
• ทุกพันธุ์ไม่ต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง ยกเว้น นครสวรรค์ 72 และสุวรรณ 3851
• เมล็ดพันธุ์ราคากิโลกรัมละ 60-90 บาท
พันธุ์ที่นิยมปลูกในปัจจุบัน มี 7 พันธุ์

พันธุ์ผสมเปิด

• ลักษณะทางการเกษตรไม่สม่ำเสมอเมื่อเทียบกับพันธุ์ลูกผสม
• ต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง
• เมล็ดพันธุ์ราคาถูกกว่าพันธุ์ลูกผสมประมาณ 5 เท่า คือ ราคากิโลกรัมละ 10-20 บาท
• พันธุ์ที่นิยมปลูก มี 2 พันธุ์

พันธุ์ที่นิยมปลูก

พันธุ์
ความสูงต้นเฉลี่ย
(ซม.)
ความสูงฝักเฉลี่ย (ซม.)
อายุ
ออกไหม* (วัน)
อายุเก็บ
เกี่ยว(วัน)
ผลผลิต (กก.ไร่)
เปอร์เซนต์กะเทาะ
เมล็ดเฉลี่ย
การเป็นโรค
ราน้ำค้าง
ราสนิม
ซีพีดีเค 888
210
120
58
110 - 120
1,000
81
ไม่ต้านทาน
ไม่ต้านทาน
ไพโอเนียร์ 3013
200
110
54
110 - 120
1,100
81
ไม่ต้านทาน
ไม่ต้านทาน
แปซิฟิค 983
190
100
55
110 - 120
1,100
80
ไม่ต้านทาน
ไม่ต้านทาน
คาร์กิล 919
180
100
54
110 - 120
1,100
83
ไม่ต้านทาน
ไม่ต้านทาน
เทพีวีนัส 49
200
100
53
110 - 120
1,100
80
ไม่ต้านทาน
ไม่ต้านทาน
นครสวรรค์ 72
210
100
56
110 - 120
1,100
79
ต้านทาน
ต้านทานปานกลาง
สุวรรณ 3851
200
110
54
110 - 120
1,000
79
ต้านทาน
ต้านทาน
สุวรรณ 5
200
110
54
110 - 120
800
78
ต้านทาน
ต้านทาน
นครสวรรค์ 1
190
100
52
110 - 120
700
79
ต้านทาน
ไม่ต้านทาน

* อายุออกไหมและเกสรตัวผู้ใกล้เคียงกัน


การปลูก

ฤดูปลูก
• ต้นฤดูฝน เดือนเมษายน-พฤษภาคม
• ปลายฤดูฝนเดือนกรกฏาคม-สิงหาคม

การเตรียมดิน
• ไถด้วยผาลสาม 1 ครั้ง ลึก 20-30 เซนติเมตร ตากดิน 7-10 วัน พรวนด้วยผาลเจ็ด 1 ครั้งปรับระดับดินให้สม่ำเสมอ แล้วคราดเก็บเศษซากราก เหง้าหัวและไหลของวัชพืชข้ามปีออกจากแปลง
• วิเคราะห์ดินก่อนปลูก
o ถ้าดินมีความเป็นกรดด่างต่ำกว่า 5.5 ก่อนเตรียมดิน ควรหว่านปูนขาว อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับดินร่วนทราย และอัตรา 200-400 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับดินร่วนดินร่วนเหนียว หรือดินเหนียว แล้วไถกลบ
o ถ้าดินมีอินทรียวัตถุต่ำกว่า 1.0 เปอร์เซ็นต์ก่อนเตรียมดินให้หว่านปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายดีแล้ว อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับดินเหนียวและดินร่วนเหนียว และอัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่สำหรับดินร่วนและดินร่วนทราย หรือหว่านพืชบำรุงดิน เช่น ถั่วเขียว อัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ ถั่วแปบ อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วไถกลบในระยะเริ่มติดฝักหรือหลังเก็บเกี่ยวพืชบำรุงดิน


วิธีการปลูก
ปลูกด้วยแรงงาน
• ระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างหลุม 25 เซนติเมตร อัตราปลูก 8,500 ต้นต่อไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ 3-4 กิโลกรัมต่อไร่
• ใช้จอบขุดเป็นหลุม หรือรถไถเดินตามหรือแทรกเตอร์ติดหัวเปิดร่อง หยอดเมล็ดหลุมละ 1-2 เมล็ด กลบดินให้แน่น
• เมื่อข้าวโพดอายุประมาณ 14 วันหลังงอก ถอนแยกให้เหลือหลุมละ 1 ต้น ++++++

ปลูกด้วยเครื่องปลูก
• ใช้รถแทรกเตอร์ลากจูงเครื่องปลูกพร้อมใส่ปุ๋ยติดท้าย ปรับให้มีระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างหลุม 20 เซนติเมตร จำนวน 1 ต้นต่อหลุม หรืออัตราปลูกประมาณ 10,600 ต้นต่อไร่ ใช้เมล็ด 2-3 กิโลกรัมต่อไร่ โดยไม่ถอนแยก


การดูแลรักษา

การให้ปุ๋ย
ดินเหนียวสีดำ ถ้ามีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์สูงกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ โดยโรยข้างแถวหลังปลูก 20-25 วัน ถ้าฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่ำกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 20-20-0 อัตรา 40 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 16-20-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ รองก้นร่องพร้อมปลูก และให้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 21-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างแถวหลังปลูก 20-25 วัน แล้วพรวนดินกลบ
ดินเหนียวสีแดง ดินเหนียวสีน้ำตาล หรือดินร่วนเหนียวสีน้ำตาล ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 หรือ 16-16-8 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ รองก้นร่องพร้อมปลูก และให้ปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 46-0-0 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างแถวหลังปลูก 20-25 วัน แล้วพรวนดินกลบ
ดินร่วน หรือดินร่วนทราย ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 หรือสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ รองก้นร่องพร้อมปลูก และปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างแถวหลังปลูก 20-25 วัน แล้วพรวนดินกลบ


ศัตรูและการป้องกันกำจัด

โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัด
โรคราน้ำค้าง หรือโรคใบลาย ระบาดรุนแรงในระยะต้นอ่อนถึงอายุประมาณ 1 เดือน ทำให้ยอดมีข้อ ต้นแคระแกร็น ใบเป็นทางสีขาว เขียวอ่อน หรือเหลืองอ่อน ไปตามความยาวของใบ พบผงสปอร์สีขาวเป็นจำนวนมากบริเวณใต้ใบในเวลาเช้ามืดที่มีความชื้นสูง ถ้าระบาดรุนแรงต้นจะแห้งตาย แต่ถ้าต้นอยู่รอดจะไม่ออกฝักหรือติดฝักแต่ไม่มีเมล็ด ควรคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วย เมตาแลกซิล อัตรา 7 กรัม/เมล็ด 1 กก.
โรคราสนิม เกิดได้แทบทุกส่วนของต้นข้าวโพด ระยะแรกพบจุดนูน สีน้ำตาลแดง ขนาด 0.2-1.3 มิลลิเมตร ต่อมาแผลจะแตกเห็นเป็นผงสีสนิม ถ้าระบาดรุนแรงจะทำให้ใบแห้งตาย " ในแหล่งที่มีโรคระบาดให้ปลูกพันธุ์ต้านทาน ได้แก่ นครสวรรค์ 72 สุวรรณ 3851 หรือสุวรรณ 5 " หลีกเลี่ยงการปลูกข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียวซึ่งอ่อนแอต่อโรคและเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค

แมลงศัตรูที่สำคัญและการป้องกันกำจัด
หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด เจาะเข้าทำลายส่วนยอดช่อดอกตัวผู้ และลำต้น ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต หักล้มง่าย เมื่อมีการระบาดรุนแรงจะเข้าทำลายฝัก พบการทำลายในแหล่งปลูกทั่วไป การป้องกันกำจัด พ่นสารไซเพอร์เมทริน (15% อีซี) 10 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตรและไตรฟลูมูรอน(25% ดับบลิวพี) 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
หนอนกระทู้หอม หนอนกัดกินทุกส่วนในระยะต้นอ่อน จะทำความเสียหายรุนแรงเมื่อหนอนมีความยาวตั้งแต่ 2 เซนติเมตร หากจำเป็นให้พ่นสารนิวเคลียร์โพลีฮีโดรซิสไวรัส 20-30 มล./น้ำ 20 ลิตร และเบตาไซฟลูทริน(2.5% อีซี) 40 มล./น้ำ 20 ลิตร
มอดดิน กัดกินใบตั้งแต่เริ่มงอกถึงอายุประมาณ 14 วัน ทำให้ต้นอ่อนตาย หรือชะงักการเจริญเติบโต ต้นที่รอดตายจะเก็บเกี่ยวได้ล่าช้า ควรคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วย อิมิดาโคลพริด (70% ดับบลิวเอส) 5 กรัม/เมล็ด 1 กก./น้ำ 20 ลิตร

สัตว์ศัตรูที่สำคัญและการป้องกันกำจัด
หนู ทำลายตั้งแต่เริ่มเป็นฝักอ่อนจนถึงเก็บเกี่ยว สกุลหนูพุกกัดโคนต้นให้ล้มแล้วกัดกินฝัก สกุลหนูท้องขาว ได้แก่ หนูบ้านท้องขาว หนูนาใหญ่ หนูนาเล็ก และสกุลหนูหริ่งปีนกัดแทะฝักบนต้น การป้องกันกำจัด หากทำความเสียหายอย่างรุนแรงให้ใช้วิธีป้องกันกำจัดแบบผสมผสาน คือ ใช้กรงดักหรือกับดัก ร่วมกับการใช้เหยื่อพิษ

วัชพืชที่สำคัญและการป้องกันกำจัด
• ไถ 1 ครั้ง ตากดิน 7-10 วัน พรวน 1 ครั้ง แล้วคราดเก็บเศษซาก ราก เหง้า หัวและไหล ของวัชพืชข้ามปี ออกจากแปลง
• กำจัดวัชพืชระหว่างแถวปลูกด้วยแรงงานหรือเครื่องจักรกล เมื่อข้าวโพดอายุ 20 - 25 วัน ก่อนให้ปุ๋ย
• ในกรณีที่กำจัดวัชพืชด้วยแรงงานหรือเครื่องจักรกลไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ควรใช้สารกำจัดวัชพืช


การเก็บเกี่ยว

• เก็บเกี่ยวเมื่อข้าวโพดแก่จัด หรือแห้งหมดทั้งแปลงแล้ว 7 วัน เมล็ดจะมีความชื้นประมาณ 23 เปอร์เซ็นต์
• ถ้าต้องการใช้พื้นที่ปลูกพืชอื่นตามข้าวโพด ควรเก็บเกี่ยวเมื่อใบข้าวโพดเปลี่ยนเป็นสีฟางข้าวทั้งแปลง เมล็ดจะมีความชื้นประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์
• ไม่ควรเก็บเกี่ยวข้าวโพดหลังฝนตก เพราะเมล็ดจะมีความชื้นสูง ควรปล่อยให้ฝักและต้นข้าวโพดแห้งก่อน
• ใช้ไม้หรือเหล็กแหลมแทงปลายฝัก ปอกเปลือก แล้วหักฝักข้าวโพดใส่กระสอบ นำไปเทกองรวมไว้ในยุ้งฉาง หรือ ใช้เครื่องเก็บเกี่ยว


การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวเหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนสารพิษอะฟลาทอกซินซึ่งเกิดจากเชื้อราในเมล็ดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในระดับพ่อค้าท้องถิ่น

จัดทำโดย : ดาราวรรณ ทวีศักดิ์บวรกุล


Today, there have been 3 visitors (9 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free