ไร่สวนสุวรรณ์
สาระเกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยอินทรีย์
ปุ๋ยทางใบ
มันสำปะหลัง
ผลผลิตทางการเกษตร
อีเอ็มการใช้ปุ๋ยชีวภาพเบื้องต้น
วิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์
Board
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
Satellite image
Contact
รับจ้างเพาะเมล็ดพันธุ์
สาระเกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์

 

 
สาระเกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์
                   ปุ๋ยอินทรีย์
ข้อดี 1. ปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดิน เช่น ดินร่วนซุย ดูดซับอาหารพืชและน้ำได้มากขึ้น ระบายน้ำได้ดีขึ้น
          2. เป็นอาหารของจุลินทรีย์ ดินทำให้มีจุลินทรีย์มาก          มีกิจกรรมที่ทำให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์มากขึ้น
ข้อด้อย1.ต้องใช้ในปริมาณมากแต่ให้ธาตุอาหารพืชในปริมาณ ที่น้อยมาก แม้จะมีครบทุกธาตุอาหารที่พืชต้องการ แต่ไม่อยู่ในสัดส่วนที่พืชต้องการ
            2.การปลดปล่อยธาตุอาหารต้องใช้เวลาโดยผ่านการย่อยโดยจุลินทรีย์ในดินก่อน
            3.ควรใส่ให้สัมผัสดินมากที่สุดเพื่อย่อยสลายเร็วขึ้น
                       ปุ๋ยเคมี
ข้อดี 1.มีธาตุอาหารพืชโดยเฉพาะธาตุอาหารหลักในปริมาณมาก
       2.ใช้ในปริมาณน้อยก็เพียงพอ
       3.ราคาถูกกว่าปุ๋ยปุ๋ยชนิดอื่นถ้าเทียบด้านราคาต่อหน่วยธาตุอาหาร
       4.ธาตุอาหารพืชในปุ๋ยเคมีจะละลายเป็นประโยชน์ แก่พืชได้ทันทีถ้าดินมีความชื้นเพียงพอ
ข้อด้อย 1.ไม่ช่วยปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดินเลย
            2.ให้เฉพาะธาตุอาหารหลัก คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม อาจมีธาตุอาหารรองและจุลธาตุติดไปบ้าง
                        ปุ๋ยชีวภาพ
ข้อดี 1.ปุ๋ยชีวภาพ มี 2 ประเภท คือ
            1.1 ประเภทที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่สร้างธาตุอาหารพืชหรือตรึง ไนโตรเจนจากอากาศมาเป็นปุ๋ยไนโตรเจน
            1.2 ประเภทที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ช่วยให้ธาตุอาหารพืชที่มีอยู่แล้วในดินเป็นประโยชน์มากขึ้น
 ข้อด้อย 1.ต้องใช้แบบเฉพาะเจาะจงหรือมีเงื่อนไขในการใช้ คือใช้ได้เฉพาะกับพืชบางชนิดที่ระบุเท่านั้น เช่นปุ๋ยชีวภาพ ไรโซเบียมใช้ได้กับพืชตระกูลถั่วและไรโซเบียมของถั่วเขียวก็ใช้ได้เฉพาะถั่วเขียว เป็นต้น
       
 
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์บางประการ
 
1.ควรใช้ในช่วงที่เตรียมดิน(ในพืชล้มลุก)และควรให้สัมผัสกับดินมากที่สุด เพราะต้องให้ได้รับความชื้นอย่างทั่วถึงและให้จุลินทรีย์เข้าย่อยสลายใช้เวลาในการย่อยสลายก่อนจึงจะใช้ประโยชน์ได้
2.ควรผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง
3.ไม่ควรซื้อปุ๋ยที่โฆษณาว่าใช้แทนปุ๋ยอินทรีย์เคมีได้
4.ไม่ควรซื้อปุ๋ยอินทรีย์ที่โฆษณาว่าใช้แทนปุ๋ยเคมีสูตรนั้น สูตรนี้ได้
5.ควรมีการใช้ปุ๋ยหรือการจัดการธาตุอาหารพืชตามค่าวิเคราะห์ดิน
6.ปุ๋ยชีวภาพ หรือปุ๋ยจุลินทรีย์ คือปุ๋ยที่ประกอบด้วย จุลินทรีย์ที่มีชีวิต ที่สามารถสร้างธาตุอาหารหรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์ต่อพืช
7.น้ำหมักชีวภาพ คือน้ำที่ได้จากการหมักเศษพืชและ/หรือเศษชิ้นส่วนของสัตว์ กับกากน้ำตาลหรือน้ำตาลและน้ำ มักจะประกอบไปด้วยสารประเภทฮอร์โมนพืช อาจมีเอนไซม์และ อะมิโนแอซิก ในความเข้มข้นต่ำอยู่ด้วย ส่วนธาตุอาหารพืชที่มีอยู่จะมีในปริมาณน้อยมาก จึงไม่เรียกว่าเป็นปุ๋ย
8.น้ำหมักชีวภาพ ไม่สามารถใช้แทนปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีได้ แต่สามารถใช้เสริมได้
9.ห้ามซื้อปุ๋ยจากรถเร่ใช้ เพราะส่วนใหญ่เป็นปุ๋ยปลอม และการขายตรงหรือขายปุ๋ยเร่ ถือว่าผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.2518
10.ควรปุ๋ยจากร้านจำหน่ายปุ๋ยที่มีใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยปุ๋ยและเป็นร้านที่เชื่อถือได้
11.ควรมีการเก็บตัวอย่างดินอย่างถูกต้องส่งวิเคราะห์ ทุก 3-5 ปี เพื่อจะได้รับคำแนะนำการจัดการดินและปุ๋ยอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และจะได้สามารถจัดการดินและปุ๋ยได้ถูกต้องและลดต้นทุนการผลิตพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ที่มาข้อมูล : สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย ,2548 (สรุปประเด็นการให้ความรู้เรื่องปุ๋ยอย่าง     
                    เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนการผลิต)
 
                ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ.2548
 ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน 2548 ข้อกำหนด   คุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์
ข้อ 1 ลำดับที่ 9 ปริมาณธาตุอาหาร –ไนโตรเจน ไม่น้อยกว่า 1.0 % โดยน้ำหนัก
                               -ฟอสฟอรัสไม่น้อยกว่า 0.5 % โดยน้ำหนัก
                               -โพแทสเซียม ไม่น้อยกว่า 0.5 โดยน้ำหนัก    
ข้อ 2 มาตรฐานฉลากและบรรจุภัณฑ์ของปุ๋ยอินทรีย์ ต้องมีรายละเอียดบนภาชนะบรรจุดังนี้
        2.1 ชื่อการค้าและเครื่องหมายการค้า
        2.2 ชนิดของผลิตภัณฑ์
        2.3ปริมาณบรรจุเป็นน้ำหนักสุทธิ(ในระบบเมตริก)
        2.4 ชื่อผู้ผลิตและสถานที่ผลิต
        2.5 ระบุวัสดุที่ใช้ผลิตและอัตราส่วนที่ใช้
        2.6 ระบุวันที่ผลิตและวันที่หมดอายุ
        2.7 ระบุวิธีการใช้ การเก็บรักษา และข้อควรระวัง
      เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.2518      ให้ผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อการค้าต้องแจ้ง
 กรมวิชาการเกษตรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับปุ๋ยอินทรีย์ โดยแสดงชื่อปุ๋ยอินทรีย์ เครื่องหมายการค้า สถานที่ผลิต สถานที่เก็บ สถานที่ขาย และสถานที่ทำการ
      การแจ้งดังกล่าวให้แจ้งที่   ผู้ว่าราชการจังหวัด    เกษตรจังหวัด และ   หน่วยงานของกรมวิชาการเกษตร    
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง   หลักเกณฑ์   วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์มาตรฐาน พ.ศ.2548 ประกาศ ณ วันที่ 2 มิถุนายน 2548
 ข้อ1 ผู้ที่มีความประสงค์จะให้กรมวิชาการเกษตรรับรองการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ให้ยื่นแบบคำขอพร้อมเอกสารและรายละเอียดที่กำหนดใน แบบ ป.อ.3 พร้อมตัวอย่างปุ๋ยอินทรีย์ 1 กิโลกรัม โดยยื่นได้ที่
1.1      กรุงเทพมหานครยื่นที่ ฝ่ายปุ๋ยเคมี สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
1.2      ต่างจังหวัด ยื่นที่ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1-8 ศูนย์บริการด้านพืชและ
ปัจจัยการผลิต และศูนย์วิจัยฯ สังกัดกรมวิชาการเกษตร
ข้อ 2 ให้ผู้ขอยื่นเอกสารประกอบการพิจารณา ดังต่อไปนี้
          2.1 ในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา 
(1)       สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรบัตรประจำตัวอื่น ที่ทางราชการออกให้และสำเนาทะเบียนบ้าน จำนวนอย่างละ 1 ฉบับ
(2)       สำเนาใบทะเบียนพาพณิชย์ชนิดแห่งพาณิชย์กิจประกอบการค้าปุ๋ย   ที่นายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 1 ฉบับ
(3)       สำเนาหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จำนวน 1 ฉบับ(ถ้ามี) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
(4)       หนังสือแสดงผลการวิเคราะห์ตรวจสอบปุ๋ยจากห้องทดลองของทางราชการที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือน
(5)       ตัวอย่างปุ๋ย ฉลากปุ๋ยและข้อความในฉลาก
(6)       หลักฐานอื่นๆที่จำเป็น
          2.2 ในกรณีเป็นนิติบุคคล
(1)       สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรประจำตัวอื่น ที่ทางราชการออกให้และสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ แล้วแต่กรณี อย่างละ 1 ฉบับ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
(2)       หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท แสดงรายการจดทะเบียนโดยระบุชนิดแห่งพาณิชย์กิจประกอบการค้าปุ๋ย          ตลอดจนรายชื่อกรรมการหรือหุ้นส่วน    ผู้จัดการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 1 ฉบับ
(3)       สำเนาหนังสือสำคัญการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จำนวน 1 ฉบับ(ถ้ามี) พร้อมรับรองสำเนา
(4)       สำเนาหนังสือผลการวิเคราะห์ตรวจสอบปุ๋ยจากห้องทดลองของทางราชการ ที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือน
(5)       ตัวอย่างปุ๋ย ฉลากปุ๋ยและข้อความในฉลาก
(6)       หลักฐานอื่นๆ ที่จำเป็นและเกี่ยวข้อง กรณีให้ผู้อื่นไปยื่นแทน จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจ
ข้อ 3 ขั้นตอนการรับพิจารณารับรองการผลิตปุ๋ยอินทรีย์
(1)       เมื่อเจ้าหน้าที่รับคำขอตามแบบแล้ว ให้ตรวจสอบเอกสารที่กำหนดไว้ในแบบคำขอ ถ้าถูกต้องครบถ้วน ให้ดำเนินการตรวจสอบมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ที่กำหนดไว้ในประกาศ กรมวิชาการเกษตร เรื่องมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์แล้ว พ.ศ.2548 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2548
(2)       เมื่อปรากฎว่าผู้ขอได้ทำการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ถูกต้องตามข้อกำหนดมาตรฐานทางวิชาการของปุ๋ยอินทรีย์แล้ว ให้นำเสนออธิบดีกรมวิชาการเกษตรเพื่อพิจารณาออกหนังสือสำคัญรับรองการผลิตปุ๋ยอินทรีย์มาตรฐานตามแบนท้ายประกาศนี้(ป.อ.4)
ข้อ 4 ผู้ได้รับการรับรองการผลิตปุ๋ยอินทรีย์มาตรฐานจะต้องปฏิบัติในเรื่องมาตรฐานฉลากและบรรจุภัณฑ์ โดยฉลากต้องแสดง
(ก)      ชื่อปุ๋ยทางการค้าและมีคำว่าปุ๋ยอินทรีย์
(ข)      เครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายอื่นใด ซึ่งแสดงที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุปุ๋ยอินทรีย์
(ค)      น้ำหนักสุทธิของปุ๋ยอินทรีย์ตามระบบเมตริก
(ง)       ชื่อผู้ผลิต สถานที่ทำการและที่ตั้งสถานที่ผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อการค้า
(จ)       คำแนะนำการใช้
 ข้อ 5 หนังสือรับรองการผลิตปุ๋ยอินทรีย์มาตรฐานตามแบบ ป.อ.4 มีอายุ 2 ปี นับตั้งแต่วันออกหนังสือรับรองและหากประสงค์จะให้กรมวิชาการเกษตรรับรองการผลิตปุ๋ยอินทรีย์มาตรฐานต่อ ให้ยื่นหนังสือขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายใน 30 วัน ก่อนครบอายุ
       ข้อ 6 กรณีที่ผู้ขอให้รับรองการผลิตปุ๋ยอินทรีย์มาตรฐานมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามข้อ 2
หรือคุณภาพปุ๋ยอินทรีย์ไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดในประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่องมาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ.2548 หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศกรมวิชาการเกษตรฉบับนี้ กรมวิชาการเกษตรจะไม่ออก หรืองดต่ออายุหนังสือสำคัญรับรองการผลิตปุ๋ยอินทรีย์มาตรฐานแล้วแต่กรณี
      ข้อ 7 ผู้ได้รับหนังสือรับรองการผลิตปุ๋ยอินทรีย์มาตรฐานตามประกาศนี้ ให้ถือว่าเป็นผู้แจ้งผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อการค้า ตามมาตรา 55 แห่ง พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 ด้วย
 
 
                ประกาศกรมวิชาการเกษตร    เรื่อง แจ้งการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และการขออนุญาต        
                 ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ผสมปุ๋ยเคมีเพื่อการค้า     ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.2518 
                                             ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2548
ข้อ 1 ผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อการค้าต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์ ที่ผลิต โดยแสดงชื่อปุ๋ยอินทรีย์ เครื่องหมายการค้า สถานที่ผลิต สถานที่เก็บ สถานที่ขาย และสถานที่ทำการ ตามมาตรา 55 การแจ้งดังกล่าวให้แจ้งได้ที่สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร หรือหน่วยงานกรมวิชาการเกษตรในพื้นที่ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด หรือเกษตรจังหวัด
ข้อ 2 ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีปุ๋ยเคมีผสมอยู่ด้วยจัดเป็นปุ๋ยเคมีตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.2518 ผู้ผลิตและจำหน่ายปุ๋ยเคมีต้องได้รับอนุญาตตามมาตรา 12 และต้องได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมีตามมาตรา 35 การขออนุญาตและการขอขึ้นทะเบียนดังกล่าวให้ยื่นขอได้ที่สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร หรือหน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรในพื้นที่
ข้อ 3 ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามข้อ 1 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ตามมาตรา 70
ข้อ 4 ผู้ที่ไม่ปฏิบัติข้อ 3 ในกรณีไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 57 และในกรณีที่ไม่ได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมีต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาทตามมาตรา 66
ข้อ 5 ในกรณีมีเหตุอันควรเพื่อตรวจสอบ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปสถานที่ หรือยานพาหนะใดๆ ได้ และมีอำนาจเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสอบ ยึดหรืออายัดปุ๋ยเคมี ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุได้ ตามมาตรา 44
ข้อ 6 ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามข้อ 5 ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน และปรับไม่เกินห้าพันบาท ตามมาตรา 56       
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ.2518 มาตราที่เกี่ยวข้อง
 
หมวด 2 การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับปุ๋ยเคมี
มาตรา  12 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิตเพื่อการค้า ขาย มีไว้เพื่อขาย นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรหรือนำผ่าน ซึ่งปุ๋ยเคมี เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และสำหรับกรณีผู้ผลิตและผู้นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งปุ๋ยเคมีที่ได้ขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี ตามมาตรา 35 แล้วด้วย
            การขออนุญาต การอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
 
หมวด 4 การควบคุมปุ๋ยเคมี
มาตรา 30   ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย มีไว้เพื่อขาย หรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งปุ๋ยเคมี ต่อไปนี้
(1)       ปุ๋ยเคมีปลอม
(2)       ปุ๋ยเคมีผิดมาตรฐาน
(3)       ปุ๋ยเคมีเสื่อมคุณภาพ เว้นแต่กรณี ตามมาตรา 31
(4)       ปุ๋ยเคมีที่ต้องขึ้นทะเบียน แต่มิได้ขึ้นทะเบียนไว้
(5)       ปุ๋ยเคมีที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียน
(6)       ปุ๋ยเคมีที่มีสารเป็นพิษ ที่อาจเป็นอันตรายแก่คน สัตว์ พืช หรือทรัพย์อื่นผสมอยู่ด้วยเกินอัตราส่วนที่มีในปุ๋ยเคมีมาตรฐาน
มาตรา 31 ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดมีปุ๋ยเคมีเสื่อมคุณภาพไว้ในครอบครอง ถ้าประสงค์จะมีไว้เพื่อ ขาย หรือขาย ต้องขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
หมวด 5 การประกาศ การขึ้นทะเบียน และการโฆษณาเกี่ยวกับปุ๋ยเคมี
มาตรา 35 ผู้รับใบอนุญาตผลิตปุ๋ยเคมีเพื่อการค้า หรือผู้รับใบอนุญาตนำหรือสั่งปุ๋ยเคมีเข้ามาในราชอาณาจักรผู้ใดประสงค์จะผลิตหรือนำสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งปุ๋ยเคมีชนิดอื่นใด นอกจากปุ๋ยเคมีมาตรฐาน ค้องนำปุ๋ยเคมีชนิดนั้นมาขอขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อนและเมื่อได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมีแล้ว จึงจะผลิตหรือนำสั่งปุ๋ยเคมีนั้นเข้ามาในราชอาณาจักรได้
หมวด 6 พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา 44 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ
(1)       เข้าไปในสถานที่ผลิตปุ๋ยเคมีเพื่อการค้า สถานที่ขายปุ๋ยเคมี สถานที่นำหรือสั่งปุ๋ยเคมีเข้ามาในราชอาณาจักร สถานที่เก็บปุ๋ยเคมีของผู้รับใบอนุญาต หรือสถานที่ผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อการค้าในระหว่างเวลาใด ๆ ที่ทำการ
(2)       ตรวจสอบยานพาหนะหรือเข้าไปในยานพาหนะ   หรือสถานที่ใด ๆ เมื่อมีกรณีหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
(3)       นำปุ๋ยเคมีในปริมาณพอสมควรไปเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจสอบ
(4)       ยึดหรืออายัดปุ๋ยเคมี ภาชนะ หรือหีบห่อบรรจุที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด     หรือเอกสารที่เกี่ยวกับปุ๋ยเคมี เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดี
     ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง    ให้ผู้รับอนุญาต       ผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อการค้าและผู้ซึ่งเกี่ยวข้องร้องขอ
หมวด 8 ปุ๋ยอินทรีย์
มาตรา 55 ผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อการค้า ต้องปฏิบัติดังนี้
(1)       แจ้งเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตในสามสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หรือวันเริ่มดำเนินกิจการโดยแสดง
(ก)      ชื่อปุ๋ยอินทรีย์
(ข)      เครื่องหมายการค้า
(ค)      สถานที่ผลิต สถานที่เก็บ สถานที่ขาย และสถานที่ทำการ
(2)       ถ้าผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อการค้าเปลี่ยนแปลงรายการที่แจ้งไว้ตาม (1) ประการใดให้แจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบภายในสามสิบวันเปลี่ยนแปลงรายการดังกล่าว
หมวด 9 บทกำหนดโทษ
มาตรา 57 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 12 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรอทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 66 ผู้ใดผลิต หรือนำสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งปุ๋ยเคมีที่ต้องขึ้นทะเบียน     แต่มิได้ขึ้นทะเบียน อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 30 (4) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท
มาตรา 70 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 55 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
สรุป การที่จะผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อการค้าจะต้อง ยื่นคำขอได้ที่
        1.สำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด รวบรวมส่งให้ ศูนย์บริการด้านพืชและปัจจัยการผลิต
เพื่อดำเนินการต่อไป
         2.ติดต่อยื่นโดยตรงกับให้ ศูนย์บริการด้านพืชและปัจจัยการผลิต จังหวัดร้อยเอ็ด (พืชไร่เก่าทางออกไป จังหวัดมหาสารคาม)
          3.ติดต่อยื่นสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขต ที่ 4 อุบลราชธานี (เขตรับผิดชอบ จังหวัดร้อยเอ็ด)
 

Today, there have been 2 visitors (3 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free